
1 .เช็คสภาพภายนอกของแบตเตอรี่อย่างสม่ำเสมอ
ดูแลแบตเตอรี่รถยนต์ ก็คือ การตรวจสอบอย่าให้มีรอยแตกร้าว เพราะจะทำให้แบตเตอรี่จะไม่เก็บประจุไฟฟ้าอาการบวมหรือเสียรูปของแบตเตอรี่ เกิดจากความร้อนหรือการประจุไฟเกินหรือการระบายแรงดันไม่ดี หากแบตเตอรี่มีการแตกร้าว ต้องดูว่ามีร่องรอยการซึมออกมาของกรดหรือของเหลวที่บรรจุภายในหรือไม่ ถ้าหากมีรอยรั่วหรือรอยแตก
2.ตรวจเช็กระบบไฟชาร์จของอัลเตอร์เนเตอร์
การตรวจสอบระบบไฟชาร์จต่ำหรือสูงไปไหม ถ้าต่ำไปจะมีผลทำให้กำลังไฟไม่พอใช้ในขณะสตาร์ตเครื่องยนต์ หรือถ้าสูงไปจะทำให้ น้ำกรดและน้ำกลั่นอยู่ภายในเดือดและระเหยเร็ว
3.ดูแลขั้วแบตเตอรี่ให้สะอาดพร้อมสำหรับการใช้งานอยู่เสมอ
การดูแลแบตเตอรี่รถยนต์ ถ้ามีคราบเกลือหรือสกปรกเกิดขึ้น ให้ทำความสะอาด ขยับดูขั้วแบตเตอรี่ว่าแน่นดีหรือไม่ ถ้าขยับได้ควรขันให้แน่น เช็คว่าขั้วของแบตเตอรี่สกปรกหรือมีขี้เกลือเกาะติดหรือเปล่า กรณีที่ติดตั้งตรั้งแรกควรซื้อแผ่นรองขั้งแบตที่ชุบสารหล่อลื่นไส่ที่ขั้วแบตตั้งแต่แรก แต่ถ้าขั้วแบตสกปรกก็ควรทำความสะอาดด้วยการใช้น้ำอุ่นถึงร้อนค่อยๆเทราดลงไปที่ขั้งแบตแล้วใช้แปรงสีฟันเก่าขัดจนขั้วสะอาด จากนั้นเช็ดให้แห้งแล้วใช้จาระบีหรือวาสลีนทาบางๆให้ทั่วที่ขั้วแบตเตอรี่
4.ตรวจสภาพของระดับน้ำกลั่นแบตเตอรี่ให้อยุ่ในระดับที่พอเหมาะ
การดูแลแบตเตอรี่รถยนต์ ตรวจระดับน้ำกลั่นให้ได้ตามระดับที่กำหนดในแบตเตอรี่ ถ้าเป็นแบตชนิดที่ต้องเติมน้ำกลั่นควรเช็คและเติมน้ำกลั่นให้อยู่ในช่วงระดับ ไม่ควรให้ระดับน้ำกลั่นต่ำกว่าขีดล่างสุดมากกว่า ๕ มม.หรือครึงซม.แม้ว่าระดับดังกล่าวของเหลวยังคงสูงกว่าแผ่นธาตุแต่ถ้ารถเอียงหรือทางลาดชันจะทำให้ระดับของเหลวไม่ท่วมแผ่นธาตุ และไม่ควรเติมสูงเกินไป จะทำให้ขั้วแบตสกปรกจากขี้เกลือเร็วขึ้นมาก
5.การใช้งานรถยนต์ช่วงที่มีอากาศหนาวหรืออุณหภูมิต่ำเพื่อการถนอมแบตเตอรี่
ประสิทธิภาพการแพร่กระจายของน้ำกรดและน้ำกลั่นจะด้อยลง เพราะฉะนั้นควรหลีกเลี่ยงการใช้กระแสไฟมากๆ ขณะอากาศเย็น แต่สำหรับเมืองไทยเราคงไม่ค่อยพบกับปัยหาเหล่านี้นัก เพราะอากาศจะร้อน ร้อนมาก และร้อนมากที่สุดเสียเป็นส่วนใหญ่
6.ควรศึกษาถึงการใช้อุปกรณ์ไฟฟ้าต่างๆ
อุปกรณ์เสริมที่ใช้กำลังไฟเยอะ เช่น ระบบเครื่องเสียง ไฟตัดหมอก ฯลฯ ให้เหมาะสมกับแบตเตอรี่และไดชาร์จ เพื่อที่จะให้วงจรการไหลของไฟฟ้าเป็นไปด้วยดี